
Passawee T. Kodaka
Passawee is the founder of Folkcharm, a “farm to fashion” brand, and co-country coordinator of Fashion Revolution Thailand.
Born in Bangkok, Passawee spent her adolescence in Tokyo and was brought up in an international environment since age 11. She volunteered in rural schools throughout college at the Faculty of Liberal Arts, Thammasat University. She holds a Masters of Science in Rural and Regional Development Planning with the thesis topic on ‘social and empowerment of home-based women workers in rural Thailand-Case Study OTOP (Silk weaving community)’. Before founding Folkcharm Crafts, she worked in international and national-level social development organizations for over 6 years. With her passion in rural crafts, she obtained a Certificate on a Trainee Program on Asian Craftswork from Kanazawa College of Art, Japan, under the university’s scholarship in 2015. Folkcharm is social enterprise of apparel and accessories from locally sourced handloom organic cotton, aimed to ensure sustainable income to rural artisans, create awareness in rural craftsmanship and slow fashion. In 2018, with Kamonnart Ongwandee, she was invited to join the Fashion Revolution Movement in Thailand.
ภัสสร์วี ตาปสนันทน์ โคะดากะ เป็นผู้ก่อตั้งแบรนด์ Folkcharm และเป็นผู้ประสานงานระหว่างประเทศของ Fashion Revolution ประจำประเทศไทย
เธอเกิดที่กรุงเทพฯและเติบโตในโตเกียว ใช้ชีวิตอยู่ต่างประเทศตั้งแต่อายุ 11 ปี ได้ทำงานอาสาสมัครในโรงเรียนชนบทตลอดระยะเวลาที่ได้ศึกษาในคณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และสำเร็จการศึกษาระดับปริญญาโทภาควิชารัฐศาสตร์และรัฐประศาสนศาสตร์ โดยทำวิทยานิพนธ์เรื่อง ‘สังคมและการส่งเสริมแรงงานหญิง ซึ่งทำงานที่บ้านในชนบทของประเทศไทย – กรณีศึกษา OTOP (ชุมชนทอผ้าไหม)’ ก่อนหน้าที่เธอจะก่อตั้ง Folkcharm Crafts เธอเคยทำงานกับองค์กรพัฒนาสังคมของไทยและต่างประเทศเป็นระยะเวลา 6 ปี ด้วยความหลงใหลในงานฝีมือพื้นเมืองของเธอ เธอจึงได้ศึกษาและได้รับประกาศนียบัตรโครงการฝึกหัดด้านงานฝีมือเอเชียจาก Kanazawa College of Art ประเทศญี่ปุ่น โดยได้รับทุนการศึกษาจากมหาวิทยาลัยในปี พ.ศ. 2558 Folkcharm เป็นกิจการเพื่อสังคมเกี่ยวกับเสื้อผ้าและเครื่องประดับ ซึ่งทำจากฝ้ายออร์แกนิคพื้นเมือง โดยมีเป้าหมายในการสร้างรายได้อย่างยั่งยืนให้กับช่างฝีมือในชนบท สร้างความตระหนักรู้เกี่ยวกับงานฝีมือชนบท และสโลว์แฟชั่น ในปี พ.ศ. 2561 เธอและกมลนาถ องค์วรรณดีได้รับเชิญให้เข้าร่วม Fashion Revolution Movement ในประเทศไทย