
Prempreeda Pramoj Na Ayutthaya
Prem was born in Bangkok. She completed two MA degrees, in Social Development at Chiang Mai University, and in Health Social Sciences at Mahidol University. Both of her master degree theses concerned rights for transgender people and sexual minorities people. She has worked with various local and international NGOs for key affected populations for health promotion, HIV prevention and care. She was one of the founding working group members of Asia Pacific Transgender Network. She worked as a community representative and liaison for an HIV Prevention Trial for the Thai Ministry of Public Health and the US Center for Disease Control. She also has been worked as HIV/AIDS National Programme Officer at UNESCO Bangkok. She has lectured on gender and sexuality issues at several universities. Currently, she serves as Vice President of Rainbow Sky Association of Thailand, and organizes her own project “Be Visible Asia” targeted towards hard-to-reach groups among LGBT; bisexual, trans’s partner, non-binary.
เปรมปรีดาสำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรีจากภาควิชาสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และสำเร็จการศึกษาระดับปริญญาโทสองใบด้วยกัน ทั้งจากสาขาการพัฒนาสังคม มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และ สาขาสังคมศาสตร์การแพทย์หลักสูตรนานาชาติ มหาวิทยาลัยมหิดล วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตร์มหาบัณฑิตทั้งสองเล่มได้เป็นกระบอกเสียงเกี่ยวกับสิทธิความหลาหลายทางเพศและสุขภาพของกลุ่มคนที่ถูกทำให้เป็นชายขอบ เปรมผ่านการทำงานร่วมกับองค์กรพัฒนาเอกชนระดับประเทศ และนานาชาติ เพื่อการส่งเสริมสุขภาพและการป้องกันการรับเชื้อเอชไอวีรวมถึงการเข้าถึงการรักษา เธอเคยเป็นตัวแทนชุมชนและผู้ประสานงานการวิจัยทางคลินิกให้ศูนย์ความร่วมมือไทย-สหรัฐ ด้านสาธารณสุข เธอเคยเป็นเจ้าหน้าที่แผนงานระดับประเทศด้านการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันการรับเชื้อเอชไอวีให้กับองค์การการศึกษา วิทยาศาสตร์ และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ (UNESCO) เธอเป็นอุปนายกสมาคมฟ้าสีรุ้งแห่งประเทศไทย, เป็นผู้ก่อตั้งและผู้อำนวยการโครงการบีวิซิเบิลเอเชีย (Be Visible Asia) เพื่อศึกษาวิจัย รณรงค์เป็นกระบอกเสียง และขับเคลื่อนทางสังคมด้านสิทธิมนุษยชนและความหลากหลายทางเพศอย่างต่อเนื่อง เปรมเป็นอาจารย์พิเศษบรรยายในมหาวิทยาลัยต่างๆ ในประเด็นผู้หญิง เพศภาวะ เพศวิถี การพัฒนาสุขภาพ และระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพ